ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy (Civil Engineering)
อักษรย่อภาษาไทย: ปร.ด. (วิศวกรรมโยธา)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: Ph.D. (Civil Engineering)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 และแบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 และแบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
หลักสูตรปริญญาเอก 3 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หลักสูตรปริญญาเอก 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
จัดการศึกษาเป็นภาษาไทย ภาษาไทย (ภาษาอังกฤษบางรายวิชา)
จัดการเรียนการสอน ในวัน-เวลาราชการปกติ
ค่าใช้จ่ายต่อภาคการศึกษา 30,000 บาทต่อภาคการศึกษา
เกณ์การรับเข้าศึกษา
- เป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2562
- แบบที่ 1 มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
แบบ 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.50 และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการทำวิจัยโดยคณะกรรมการซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แบบ 1.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้มีผลการเรียนดีมาก และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการทำวิจัยโดยคณะกรรมการซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร - แบบ 2 มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.25
แบบ 2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาก และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการทำวิจัยโดยคณะกรรมการซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร - คุณสมบัติอื่นๆ ต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
- นิสิตอาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ โดยไม่นับเป็นหน่วยกิตของหลักสูตร ตามที่กำหนดโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
þ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562
ปรับปรุงจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
þ สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ….5/2562……………
วันที่…21…….. เดือน…พฤษภาคม……. พ.ศ. ..2562……
þ สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ….6/2562…….
วันที่….27……. เดือน…มิถุนายน…… พ.ศ. ….2562………
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา
วิศวกรโยธาที่ใช้องค์ความรู้ขั้นสูง นักวิจัย อาจารย์
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านวิศวกรรมโยธา ให้สามารถดำเนินงานวิจัยและบูรณาการความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพร้อมทั้งมีศักยภาพในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมโยธาได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานวิศวกรรมโยธาขั้นสูงที่ซับซ้อนในเชิงวิชาการหรือวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อเป็นบุคลากรด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูงของประเทศที่มีทั้งความเข้มแข็ง ความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง และสร้างสรรค์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมและประชาคมโลก
- มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูงเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแนวปฏิบัติทางวิชาชีพ กฏและระเบียบที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและระดับนานาชาติ และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์ สามารถออกแบบ ดำเนินการและพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูงที่ความซับซ้อนได้โดยบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมโยธาที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชาคมโลก
- มีความสามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูง สามารถวางแผนวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนสูงมากด้วยตนเอง และมีความโดดเด่นในการเป็นผู้นำในทางวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมโยธาขั้นสูง
- มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขทางวิศวกรรมโยธาขั้นสูง สามารถสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานวิศวกรรมโยธาขั้นสูงได้อย่างเชี่ยวชาญ และสามารถเผยแพร่องค์ความรู้หรือข้อมูลด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูงในวงการวิชาชีพได้
- มีความสามารถในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนทางวิศวกรรมโยธาขั้นสูงได้อย่างถูกต้อง สามารถค้นคว้าอภิปรายและนำเสนอผลงานได้อย่างเชี่ยวชาญ
ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังของหลักสูตร (Expected Learning Outcomes, ELOs)
- นิสิตสามารถกำหนดปัญหาทางวิศวกรรม และบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมและการใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการแก้ปัญหาในสาขาวิชาด้วยระเบียบวิธีวิจัยได้ โดยคำนึงถึงผลกระทบของการดำเนินการและจริยธรรมในวิชาชีพ
- นิสิตสามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลขั้นสูงได้
- นิสิตสามารถเพยแพร่และโต้แย้งทางวิชาการภายไต้กรอบจริยธรรมทางการวิจัยและวิชาชีพได้
โครงสร้างหลักสูตร
1) แบบ 1.1
หมวดวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
2) แบบ 1.2
หมวดวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
3) แบบ 2.1
หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
– วิชาบังคับร่วม ไม่นับหน่วยกิต
– วิชาบังคับเฉพาะกลุ่มวิชา 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
4) แบบ 2.2
หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
– วิชาบังคับร่วม ไม่นับหน่วยกิต
– วิชาบังคับเฉพาะกลุ่มวิชา 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
ดาวโหลดหลักสูตร
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตร พ.ศ. 2562